กองทุนภูมิอากาศสีเขียว
(Green Climate Fund: GCF)
เป็นกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNITED NATIONS FRAMEWORK CONVENTION ON CLIMATE CHANGE: UNFCCC) ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 ในการประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 16 ที่เมืองแคนคูน สหรัฐเม็กซิโก โดยเริ่มดำเนินงานเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2558 เป็นกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของประชาคมโลกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำและมีความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งนี้กองทุนภูมิอากาศสีเขียวคำนึงถึงความเป็นเจ้าของประเทศและความต้องการของประเทศเป็นหลัก โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนจำนวน 24 คนซึ่งครึ่งหนึ่งมาจากประเทศพัฒนาแล้ว
กองทุนภูมิอากาศสีเขียว
(Green Climate Fund: GCF)
และอีกครึ่งหนึ่งมาจากประเทศกำลังพัฒนา โดยที่การตัดสินใจอาศัยมติแบบเอกฉันท์ของคณะกรรมการบริหารกองทุน
ในส่วนของความท้าทายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบ ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ตั้งเป้าหมายระดมทุนให้ได้จำนวนหนึ่งแสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (100 BILLION USD) ภายในปีพ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) โดยจัดสรรเงินทุนในสัดส่วนที่เท่ากันเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบโดยที่ร้อยละ 50 ของเงินด้านการปรับตัวจะจัดสรรให้กับประเทศที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษ ได้แก่ ภาคีประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภาคีประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และภาคีกลุ่มประเทศแอฟริกา

ความเป็นมาของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว


กรอบยุทธศาสตร์ของกองทุน
กองทุนภูมิอากาศสีเขียวกำหนดกรอบยุทธศาสตร์เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4 ด้าน ได้แก่ (1) เพิ่มการผลิตและการเข้าถึงพลังงานที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ (2) เพิ่มการขนส่งที่มีระบบการปล่อยคาร์บอนต่ำ (3) อาคาร เมืองอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ (4) การใช้ที่ดิน การตัดไม้ทำลายป่า การจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน และเพิ่มการดูดกลับคาร์บอนในภาคป่าไม้ และเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4 ด้าน ได้แก่ (1) สุขภาพความเป็นอยู่และความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ (2) การดำรงชีวิตของผู้คนและชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัย (3) ระบบสาธารณูปโภคและสภาวะแวดล้อม และ (4) ระบบนิเวศและการบริการ
ขนาดโครงการ GCF
ขนาดโครงการ GCF ที่หน่วยงานปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองสามารถดำเนินการได้ มีดังนี้

รูปแบบกลไกทางการเงินของ GCF
กองทุนภูมิอากาศสีเขียว กำหนดรูปแบบกลไกทางการเงินไว้ 4 ประเภท ดังนี้
ใช้เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น กิจกรรมด้านการปรับตัวในพื้นที่เปราะบาง การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเสริมสร้างศักยภาพ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตลอดจนการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อให้โครงการสัมฤทธิ์ผล
ใช้เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินด้วยการกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าท้องตลาด การยืดระยะเวลา และ/หรือ การพักชำระหนี้ชั่วคราว
ใช้เพื่อบรรเทาหรือลดความเสี่ยงของการลงทุน โดยที่ผู้ค้ำประกันทำสัญญารับผิดชอบร่วมหรือแทนผู้กู้ ซึ่งการค้ำประกันนี้อาจครอบคลุมการลงทุนทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน
เป็นการระดมเงินทุนจากนักลงทุนสำหรับโครงการหรือสินทรัพย์ เพื่อช่วยลดภาระหนี้และเพิ่มผลตอบแทนในที่สุด ซึ่งโดยทั่วไป ตราสารทุนเหมาะกับโครงการที่มีความเสี่ยงสูง แต่มีโอกาสของความสำเร็จและให้ผลตอบแทนต่อนักลงทุน
องค์ประกอบของกองทุน GCF
โครงสร้างของกองทุน GCF มุ่งเน้นหลักความเป็นเจ้าของประเทศ โดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยประสานงานหลักเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการ/แผนงานที่ได้รับการพัฒนาและเสนอไปยังกองทุนนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างแท้จริง