เกี่ยวกับ

หน่วยประสานงานหลัก (NDA)

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยประสานงานหลัก (NATIONAL DESIGNATED AUTHORITY: NDA) ของกองทุนภูมิอากาศสีเขียวประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่ประสานและติดต่อสื่อสารกับกองทุน

หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก
กรอบการพิจารณาขอรับการสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศ
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
(Thailand Country Programme:TCP)

กรอบการพิจารณาขอรับการสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องมือและกรอบยุทธศาสตร์ที่แสดงถึงลำดับความสำคัญของภาคส่วนที่ต้องการการสนับสนุนและมาตรการในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรอบการพิจารณาฯ ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงหลักสำหรับการร่วมงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศรวมถึงกองทุน GCF กองทุนระหว่างประเทศและประเทศผู้ให้เงินสนับสนุน (Donors) ด้านสภาพภูมิอากาศอื่นๆ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายระยะยาวในการเป็น “สังคมคาร์บอนตํ่าและมีภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” รวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์โดยเป็นแนวทางให้หน่วยงานทั้งในและนอกประเทศ ที่ประสงค์จะพัฒนาและเสนอข้อเสนอโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์ของกรอบการพิจารณา

เสริมสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ กับผู้เกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วน เช่น กระทรวงที่เกี่ยวข้อง สถาบันต่างๆ ในประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ ประเทศผู้ให้เงินบริจาค รวมถึงภาคเอกชนและภาคประชาสังคม

ก่อให้เกิดการประสานเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศเข้ากับแหล่งเงินทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในและนอกประเทศอย่างเหมาะสม

ก่อให้เกิดนโยบายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีระบบการติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่ดีขึ้น และก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันจากการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรอบการพิจารณาฯ มีกรอบการทบทวนและปรับเปลี่ยนทุกห้าปีหรือตามสมควร เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์และนโยบายในระดับชาติและระดับนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อให้สอดรับกับความต้องการเร่งด่วนของไทยในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีความช่วยเหลือด้านเทคนิค และความช่วยเหลือด้านการเงิน เพื่อให้การดำเนินงานของประเทศบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 20 – 25 ภายในปีพ.ศ. 2573 รวมถึงเป้าหมายการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการฟื้นตัวของประเทศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

มาตรการที่ประเทศไทยต้องการขอรับการสนับสนุนทางการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หลักเกณฑ์การพิจารณาขอรับการสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

NDA ประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ใช้ประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อข้อเสนอโครงการ GCF ก่อนออกหนังสือรับรองว่าประเทศไม่มีข้อคัดค้าน เพื่อความมั่นใจว่าโครงการหรือแผนงานมีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ อีกทั้งยังตอบรับกับประเด็นสำคัญและความต้องการที่กำหนดไว้ในกรอบการดำเนินงานของประเทศ (TCP) และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือกฎระเบียบ ซึ่ง NDA จะเน้นการพิจารณาและประเมินผลใน 3 ด้าน ได้แก่
1) ความเป็นเจ้าของประเทศ
2) การตอบสนองต่อความต้องการของประเทศและผู้รับ และ
3) มาตรฐานการปกป้องด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และนโยบายเพศภาวะ

ขั้นตอนการออกหนังสือรับรอง

โดย NDA มี 6 ขั้นตอน