การเข้าถึงกองทุน GCF

กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GCF) ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการและแผนงานที่ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้การดำเนินงานโครงการและแผนงานต้องเป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ของกองทุน GCF โดยหน่วยงานปฎิบัติการที่ได้รับการรับรอง (Accredited Entity: AE) สามารถพัฒนาและส่งข้อเสนอโครงการไปที่สำนักเลขาธิการกองทุนได้ทุกเวลา หรือกองทุน GCF อาจประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการเป็นระยะๆ ผ่านทางเว็บไซต์

การพัฒนาแนวคิดโครงการ/ข้อเสนอโครงการ

แนวคิดโครงการ (Concept Note) เป็นการเสนอโครงการหรือแผนงานโดยย่อ หลังจากที่ได้มีการหารือกับหน่วยประสานงานหลักแห่งชาติแล้ว เพื่อเปิดโอกาสให้ AE ได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสำนักเลขาธิการกองทุน
ว่าโครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ นโยบาย และหลักเกณฑ์การลงทุนมากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะได้มีการพัฒนาข้อเสนอโครงการในลำดับต่อไป

ก่อนที่จะมีการส่งแนวคิดโครงการ AE ควรปฏิบัติดังนี้

  • 1. หารือร่วมกับ NDA ให้ทราบถึงแนวคิดโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • 2. แจ้งให้สำนักเลขาธิการกองทุนได้ทราบว่า AE ได้หารือกับ NDA แล้ว

นอกจากนี้แนวคิดโครงการนั้นไม่ใช่ภาคบังคับ แต่สนับสนุนให้มีการจัดทำ เพื่อรับฟังความคิดเห็นในเบื้องต้นจากสำนักเลขาธิการกองทุน ซึ่งจะช่วยให้การพิจารณาโครงการในอนาคตทำได้รวดเร็วขึ้น

แนวคิดโครงการ ประกอบด้วย ๔ ส่วน

Section A

บทสรุปของโครงการ/แผนงาน

แสดงถึงข้อมูลส่วนสำคัญของโครงการที่ต้องการนำเสนอ

Section B

ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ/แผนงาน

เป็นการรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์และเชิงเทคนิคที่จะช่วยในการพิจารณาแนวคิดโครงการ

Section C

งบประมาณด้านการเงิน

ทั้งในส่วนที่ขอการสนับสนุนจากกองทุน GCF และจำนวนของงบร่วม หรือ co-financing

Section D

เอกสารประกอบอื่นๆ

ข้อเสนอโครงการและแผนงาน

AE สามารถพัฒนาข้อเสนอโครงการหรือแผนงาน ต่อยอดจากการพัฒนาแนวคิดโครงการ โดยประสานใกล้ชิดกับ NDA เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของประเทศเป็นสำคัญ นอกจากนี้ AE สามารถพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการเป็นกรณีพิเศษตามการเรียกร้องของ GCF เพื่อให้มีการลงทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อย่างไรก็ดีข้อเสนอแนะและความเห็นจากสำนักเลขาธิการกองทุนที่มีต่อแนวคิดโครงการและข้อเสนอโครงการไม่ได้เป็นการรับรองว่า โครงการ/แผนงานดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาในที่สุดเสมอไป เพราะมติการตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายนั้นเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ด้านเทคนิค รูปแบบกลไกการเงิน สภาพแวดล้อมสังคม เพศภาวะและมุมมองข้อกฎหมายอื่นๆ ทั้งนี้สำนักเลขาธิการกองทุนจะส่งโครงการต่อไปให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณา ก็ต่อเมื่อได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาเชิงเทคนิค หรือ Technical Advisory Panel (iTAP) ที่ทำงานอย่างเป็นอิสระ และจากสำนักเลขาธิการกองทุน

ดาวน์โหลด proposal template

รายละเอียดในข้อเสนอโครงการประกอบด้วย

Section A

บทสรุปของโครงการ/แผนงาน

แสดงถึงข้อมูลส่วนสำคัญของโครงการที่ต้องการนำเสนอ

Section B

รายละเอียดด้านงบประมาณและการเงิน

ทั้งในส่วนที่ขอการสนับสนุนจากกองทุน GCF และจำนวนของงบร่วม หรือ co-financing

Section C

รายละเอียดของโครงการ/แผนงาน

แสดงถึงข้อมูลและรายละเอียดของโครงการ ที่ต้องการนำเสนอ รวมถึงแผนการดำเนินงาน

Section D

เหตุผลในการเข้าร่วมของ GCF

แสดงให้เห็นถึงเหตุผลว่าทำไมการมีส่วนร่วมของ GCF ในโครงการ/แผนงานถึงมีความสำคัญ รวมถึงการคำนึงถึงความยั่งยืนของโครงการในระยะยาว

Section E

ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการลงทุน

แสดงถึงผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะได้รับโดยเทียบกับเกณฑ์การลงทุนของ GCF

Section F

สรุปผลการประเมิน

แสดงถึงข้อมูลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน เหตุผลประกอบการตัดสินใจ การประเมินทางเทคนิค การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และการจัดการทางการเงิน รวมถึงการจัดซื้อ

Section G

การประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยง

แสดงถึงความเสี่ยงที่สำคัญ และมาตรการลดความเสี่ยง

Section H

การตรวจสอบและรายงานผล

ระบุถึงกรอบตรรกะ ตามกรอบการวัดผลการปฏิบัติงานของ GCF ซึ่งอยู่ภายใต้การการจัดการผลลัพธ์ รวมทั้งอธิบายถึงการเตรียมการในการติดตาม การรายงานและการประเมินผล

Section I

ภาคผนวก

แสดงถึงเอกสารประกอบอื่นๆ

ขั้นตอนการออกหนังสือรับรอง

กระบวนการอนุมัติโครงการของ GCF

ทุกข้อเสนอโครงการหรือแผนงานที่ส่งเข้ามา เริ่มแรกจะได้รับการประเมินโดยสำนักเลขาธิการกองทุนและคณะกรรมการที่ปรึกษาอิสระด้านเทคนิค ตามกรอบยุทธศาสตร์ของกองทุนและเกณฑ์การลงทุนของกองทุน GCF (IPSCEN) แสดงไว้ในรูปด้านข้าง

ภายหลังข้อเสนอโครงการหรือแผนงานจะได้รับการนำเสนอไปยังคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อพิจารณาอนุมัติ ก่อนที่จะสามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งขั้นตอนในกระบวนการอนุมัติโครงการของ GCF แสดงไว้ในรูปด้านล่าง

ขั้นตอนในกระบวนการอนุมัติโครงการของ GCF

เกณฑ์การลงทุนของกองทุน GCF (IPSCEN)

IPSCEN COMPLIANCE

หน่วยงานปฎิบัติการที่ได้รับการรับรอง (Accredited Entity: AE)

หน่วยงานปฎิบัติการที่ได้รับการรับรอง มีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น

1

พัฒนาและจัดส่งข้อเสนอโครงการ

2

กำกับดูแลการบริหารจัดการและการดำเนินงานโครงการ/แผนงาน

3

เลือกใช้รูปแบบกลไกทางการเงินที่สอดคล้องกับศักยภาพของหน่วยงาน

4

ผลักดันให้มีเงินลงทุนจากภาคเอกชน

หน่วยงานปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจำแนกเป็นสองแบบ ดังนี้

Attachments